โพสฟรี เว็บประกาศมากมายให้เลือกซื้อขาย

หมวดหมู่ทั่วไป => โพสฟรีออนไลน์ => ข้อความที่เริ่มโดย: siritidaphon ที่ วันที่ 22 เมษายน 2025, 16:27:53 น.

หัวข้อ: ความหนาที่เหมาะสมของ ฉนวนกันความร้อน
เริ่มหัวข้อโดย: siritidaphon ที่ วันที่ 22 เมษายน 2025, 16:27:53 น.
ความหนาที่เหมาะสมของ ฉนวนกันความร้อน (https://www.newtechinsulation.com/)

ห้ามคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำส่วนใดส่วนหนึ่ง ในเนื้อหาไปเผยแพร่ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรหากฝ่าฝืน จะดำเนินคดีตามกฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด

หากใครเคยต้องตัดสินใจเลือกความหนาของฉนวนกันความร้อนกัน คงจำได้ว่ามีปัจจัยที่สำคัญอยู่ 2 ข้อใหญ่คือ อุณหภูมิผิวของอุปกรณ์ที่ต้องการหุ้มฉนวนและระยะเวลาการใช้งานอุปกรณ์นั้นหลังหุ้มฉนวน เพราะ 2 ปัจจัยที่ว่านี้จะนำมาใช้ในการคำนวณจุดคุ้มทุน (Return on Investment: ROI) ได้นั่นเอง โดยเนื้อหาในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างการคำนวณจากหน้างานจริงเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ของฉนวนกันความร้อน 2 ความหนา คือ ความหนา 25 มม. และความหนา 50 มม.


ตัวอย่างเช่น หน้างานต้องการหุ้มฉนวนที่ผิวเตาอบ (พลังงานไฟฟ้า) พื้นที่รวม 20 ตรม. ซึ่งมีอุณหภูมิผิวเฉลี่ย 150 องศาเซลเซียส จำนวนชั่วโมงทำงานของเตา 24 ชั่วโมงต่อวัน ทำงานทั้งหมด 26 วันต่อเดือน และมีอุณหภูมิห้องอยู่ที่ 32 องศาเซลเซียส ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยหน่วยละ 3.80  บาท/หน่วย


1. รายการคำนวณหลังหุ้มฉนวนหนา 25 มม. (ความหนาแน่น 160 กก./ลบม.)

อุณหภูมิผิวเตาก่อนหุ้ม 150.0 องศาเซลเซียส หลังหุ้ม 50.5 องศาเซลเซียส

Heat Loss ก่อนหุ้มฉนวน 1,742.00 วัตต์/ตรม. x 24 ชั่วโมง x 26 วัน x 20 ตรม. = 21,740.16 kW

Heat Loss หลังหุ้มฉนวน 182.00 วัตต์/ตรม. x 24 ชั่วโมง x 26 วัน x 20 ตรม. = 2,271.36 kW

ค่าไฟฟ้าที่สูญเสียก่อนติดตั้ง 3.80 x 21,740.16 = 82,612.61 บาท/เดือน

ค่าไฟฟ้าที่สูญเสียหลังติดตั้ง 3.80 x 2,271.36 = 8,631.17 บาท/เดือน

ผลประหยัดค่าไฟฟ้า 73,981.11 บาท/เดือน

สมมติให้มูลค่างานฉนวนพร้อมติดตั้ง 200,000 บาท

จุดคืนทุน (ROI) 200,000 / 73,981.11 = 2.70 เดือน


2. รายการคำนวณหลังหุ้มฉนวนหนา 50 มม. (ความหนาแน่น 160 กก./ลบม.)

อุณหภูมิผิวเตาก่อนหุ้ม 150.0 องศาเซลเซียส หลังหุ้ม 42.7 องศาเซลเซียส

Heat Loss ก่อนหุ้มฉนวน 1,742.00 วัตต์/ตรม. x 24 ชั่วโมง x 26 วัน x 20 ตรม. = 21,740.16 kW

Heat Loss หลังหุ้มฉนวน 97.16 วัตต์/ตรม. x 24 ชั่วโมง x 26 วัน x 20 ตรม. = 1,212.56 kW

ค่าไฟฟ้าที่สูญเสียก่อนติดตั้ง 3.80 x 21,740.16 = 82,612.61 บาท/เดือน

ค่าไฟฟ้าที่สูญเสียหลังติดตั้ง 3.80 x 1,212.56 = 4,607.73 บาท/เดือน

ผลประหยัดค่าไฟฟ้า 78,004.88 บาท/เดือน

สมมติให้มูลค่างานฉนวนพร้อมติดตั้ง 260,000 บาท

จุดคืนทุน (ROI) 260,000 / 78,004.88 = 3.33 เดือน


สรุป

จากการคำนวณโดยเปรียบเทียบฉนวนกันความร้อนทั้ง 2 ความหนา พบว่าความหนา 25 มม. เป็นความหนาที่เหมาะสมกับงานนี้มากกว่าฉนวนหนา 50 มม. เนื่องจากประสิทธิภาพของฉนวนต่างกันแค่ประมาณ 5% แต่ราคาต่างกันอยู่ถึง 30% และจะเห็นได้ว่า ROI ของฉนวน 25 มม. สั้นกว่า ในขณะที่อุณหภูมิผิวหลังหุ้มฉนวนต่างกันแค่ประมาณ 7 องศาเซลเซียส จะเห็นได้ว่าความหนาที่มากกว่าอาจไม่ได้เป็นความหนาที่เหมาะสมเสมอไป และนี่คือตัวอย่างหนึ่งของการเลือกความหนาที่เหมาะสมของฉนวนกันความร้อนสำหรับแก้ปัญหาในงานอุตสาหกรรม